กล้องวงจรปิด

รูปภาพของฉัน
บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง รับประกันผลงานตลอดอายุการใช้งาน กล้องวงจรปิด รั้วไฟฟ้า สัญญาณกันขโมย สอบถามได้ที่ Line ID : @CctvBangkok.com

วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

กล้องวงจรปิดราคา และกลยุทธ์ในการกำหนดราคา


กล้องวงจรปิดราคา และกลยุทธ์ในการกำหนดราคา


                   ความสำคัญอย่างหนึ่งของการดำเนินงานทางการตลาดก็คือการกำหนดราคา    สินค้าที่จะขายได้นั้นไม่ใช่เพียงแต่ว่าคุณภาพของสินค้าเพียงอย่างเดียว   จะต้องมีราคาที่เหมาะสม    ฉะนั้นการแสดงราคาของสินค้านั้น   หมายถึงว่าสินค้านั้นมีมูลค่าเป็นตัวเงินเท่านั้นนั่นเอง
                    ในทางการตลาด    คุณภาพกับราคา  ของสินค้ามีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด   “คุณภาพ”  ของสินค้ามักจะถูกบ่งชี้มาในรูปแบบของ   “ราคา”     ผู้ที่จะซื้อสินค้าหรือบริการถ้าไม่มีข้อมูลก็มักจะเอาราคาเป็นตัวบ่งชี้เบื้องต้นของคุณภาพสินค้าและบริการนั้น      เนื่องจากผู้ซื้อในปัจจุบันฉลาดขึ้น  และมีโอกาสในการเลือกสรรสินค้ามากขึ้น   และมีนโยบายในการกำหนดราคาสินค้าแบบ  “ตีหัวเข้าบ้าน”   มักใช้ไม่ได้ผลในปัจจุบันนี้
                   ราคาสินค้าและบริการเป็นที่มาของรายได้และผลกำไรของธุรกิจ    “การกำหนดราคา”   ในฐานะที่เป็นส่วนผสมทางการตลาดอย่างหนึ่งได้รับความสนใจมากขึ้น     ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จขึ้นอยู่กับนโยบายและวิธีการที่ใช้ในการกำหนดราคา   ในอุตสาหกรรมหลาย    ประเภท  ที่ผู้ขายเคยอาศัยหลัก   “การแข่งขันที่ไม่ใช้ราคา”   เป็นเครื่องมือในกิจกรรมการส่งเสริมการขายเพื่อเป็นการกระตุ้นจำเป็นที่จะต้องหันมาใช้  “ราคา”   เป็นการกำหนดกลยุทธ์หลักในการวางแผนการตลาดมากขึ้น     นอกจากนี้ราคายังเพิ่มคุณค่าทางด้านนามธรรมของส่วนผสมทางการตลาด    การตั้งราคาเพื่อมาเสริมเกียรติภูมิ   เช่น  การตั้งราคารถยนต์ชั้นดี   เพชรพลอย  และเสื้อผ้า    เพื่อเป็นการเพิ่มอุปสงค์ในสินค้านั้น   เราจะพบว่าถ้าราคารถเบนซ์ให้เท่ากับรถญี่ปุ่นชั้นดี  ผู้ซื้อจะไม่ได้คุณค่าด้านนามธรรมในฐานะสินค้าชั้นนำ  ซึ่งจะได้กล่าวถึงกลยุทธในการกำหนดราคาต่อไปนี้
ความหมายของราคาที่พบเห็นอยู่เสมอในทางการตลาด
                   ราคาตามบัญชี   (List  prices)      เป็นราคาขั้นพื้นฐานที่จัดพิมพ์ไว้     ซึ่งอยู่ในบัญชีรายการ  ราคาอยู่ในแคตตาล็อกและอยู่ในโฆษณา   จะเป็นราคาที่สูงสุดของผลิตภัณฑ์     เพราะว่าราคามักจะมีการให้ส่วนลดราคาจะจัดพิมพ์เอาไว้ต่างหาก
                    ผู้ขายใช้ราคาตามบัญชีและส่วนลดราคา   เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของราคาผู้ขายสามารถที่จะกำหนดรายการส่วนลดราคาได้สะดวกกว่าที่จะจัดพิมพ์ราคาตามบัญชีทั้งหมด    ผู้ขายสามารถจะกำหนดส่วนลดราคาระดับต่าง    ได้อย่างสบาย   ราคาตามบัญชีในแคตตาล็อกจะช่วยให้ผู้ค้าคิดราคากับผู้บริโภค   และยังสามารถจะแสดงให้ผู้บริโภคโดยไม่ต้องกลัวว่าผู้บริโภคจะรู้ส่วนบวกเพิ่มการขาย  และนอกจากนี้คู่แข่งขันไม่สามารถที่จะรู้ราคาที่แท้จริงอีกด้วย
                   ราคาสุทธิ          ราคาตามบัญชีหักด้วยส่วนลดราคา   ซึ่งราคาสุทธินี้พนักงานขายควรที่จะคำนวณออกมาให้ผู้มุ่งหวังได้เห็นเพื่อที่จะได้ใช้เปรียบเทียบกับราคาตามบัญชี   ซึ่งส่วนแตกต่างนี้จะเป็นประโยชน์ในการที่จะกระตุ้น   หรือเป็นแรงจูงใจให้ผู้มุ่งหวังซื้อได้

                  ราคาตามเขต         ผู้ขายได้แบ่งตลาดออกเป็นเขตทางภูมิศาสตร์   เช่น  ภาคเหนือ   กลาง  ใต้   ตะวันออก   และตะวันตก     แต่ในการกำหนดราคาสินค้าจะใช้ราคาเดียวกันหมดกับผู้ซื้อทุก     เขต     ในการกำหนดราคาลักษณะนี้เรียกว่า   ราคาตามเขต     และเหตุที่กำหนดราคาเหมือนกันก็เพราะว่าจะได้มีการคิดอัตราค่าขนส่งในระดับเดียวกันหมด
                                      
                 ราคา  F.O.B     (Free  on  board)     ผู้ขายจะจ่ายค่าขนส่งไปยังจะที่ระบุเอาไว้ในรายการ   เช่น  เอฟ.โอ.บี  ที่จุดหมายปลายทาง  หมายถึงผู้ขายจะจ่ายค่าขนส่งทั้งหมดจนกระทั่งสินค้าไปถึงมือผู้ซื้อ   จะเห็นได้ว่าราคา   เอฟ.โอ.บี   จะส่งผลถึงราคาขายของสินค้าด้วย
                ราคา   CIF   (Cost  Insurance  and  Freight)    ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบทุกอย่าง  คือ  จัดหาเรือส่งสินค้าให้กับผู้ซื้อ   เสียค่าระวางบรรทุกสินค้า   และหาบริษัทประกันภัย   เสียค่าประกันภัย   ตลอดจนราคาสินค้า    หากมีการสูญหายได้
                ราคา   C&F    (Cost   and   Freight)     ผู้ขายจะรับผิดชอบจัดหาเรือบรรทุกสินค้าเสียค่าระวางเรือหรือค่าบรรทุก   แต่ผู้ซื้อจะเป็นผู้เสียค่าประกันภัยเอง

                 ราคาประกัน       นับได้ว่าเป็นการจุดการขายที่จะได้ใบสั่งซื้อแต่แรกเริ่ม   หรือการทำสัญญาซื้อขายระยะยาว    การประกันของราคาหมายความว่าจะไม่มีการลดราคาของผู้ขาย    ถ้าผู้ขายมีการลดราคาลงไปอีก   ผู้ซื้อที่เป็นโรงงานจะเสียเปรียบและจะทำให้ต้นทุนการผลิตของสินค้าที่จะขายสูงกว่าผู้ซื้อตอนหลัง    ราคาประกันเหมาะอย่างยิ่งกับกรณีที่ราคาผลิตภัณฑ์มีการขึ้นลงอย่างมาก  ราคาประกันจะทำให้ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าจะไม่มีความเสียงจากการผันแปรของราคาอยู่ตลอดเวลา

ราคากล้องวงจรปิด
ราคากล้องวงจรปิด

วัตถุประสงค์ในการกำหนดราคา
การบริหารในการดำเนินงานเรื่องราคาในด้านการตลาด     จำเป็นที่จะต้องบ่งบอกและรับทราบถึงการวางแนวนโยบายว่า   กิจการมีวัตถุประสงค์อย่างไรในการกำหนดราคา   ทั้งนี้เพื่อจะได้ใช้ข้อมูลในการกำหนดนโยบายราคา  กลยุทธราคา  และวิธีการที่จะใช้ในการกำหนดราคา    โดยสามารถจำแนกวัตถุประสงค์ของเป้าหมายได้ดังนี้
ก. วัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร    ธุรกิจส่วนใหญ่จะตั้งราคาเพื่อมุ่งหวังให้ได้กำไร   เป้าหมายกำไรที่แต่ละกิจการต้องการ   จะมีความแตกต่างกันดังนี้
1.      การกำหนดราคาเพื่อแสวงหากำไรสูงสุด กิจการไม่จำเป็นที่จะต้องตั้งราคาสินค้าให้สูงเสมอไป   เพราะการตั้งราคาสูงนั้นจะทำให้เกิดกำไรสูงสุดก็ต่อเมื่ออยู่ในตลาดผูกขาด    ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามราคาสินค้า   แม้ว่าราคาสินค้าจะสูงขึ้น   ความต้องการจะไม่ลดลง   หรือในทางกลับกันสินค้านั้นไม่มีความยืดหยุ่น  และการที่สินค้านั้นถูกลอกเลียนแบบได้ยาก   โอกาสที่สินค้าจะถูกลอกเลียนได้ง่ายควรตั้งราคาต่ำลง   เพราะการตั้งราคาต่ำ  ถึงแม้กำไรต่อหน่วยจะต่ำ   แต่ปริมาณการขายก็จะเพิ่มมากขึ้น  ทำให้มีผลกำไรรวมทั้งสิ้นสูงขึ้นไปด้วย
2.      การกำหนดราคาเพื่อให้ได้กำไรตามที่คาดหวังไว้ การกำหนดราคาเพื่อให้ได้ผลตอบแทนจากการลงทุนตามที่ต้องการ    จะต้องกำหนดผลตอบแทนที่ต้องการก่อน   แล้วจึงกำหนดราคาที่จะทำให้ได้รับกำไรในระดับที่ต้องการ    วิธีนี้เป็นแนวทางการกำหนดราคาสำหรับสายผลิตภัณฑ์ทั้งหมด
3.  การกำหนดราคาเพื่อให้ได้กำไรในระดับราคาที่พอใจ     ธุรกิจในบางธุรกิจอาจจะไม่ต้องการกำไรสูงสุด    แต่ต้องการกำไรที่เพียงพอสำหรับการลงทุนเพิ่มในอนาคต   และเพราะต้องการเพิ่มส่วนการครองตลาด   รวมทั้งสร้างความประทับใจต่อกิจการ

ข. การกำหนดราคาเพื่อดำรงไว้ซึ่งส่วนของการครองตลาด ผลิตภัณฑ์ของกิจการเป็นที่ยอมรับมากน้อยเพียงใดในตลาดนั้นสามารถดูได้จากส่วนแบ่งการตลาดเป็นตัวบ่งชี้     ส่วนใหญ่แล้วเมื่อกิจการมีส่วนแบ่งของตลาดขนาดใหญ่มากแล้ว     มักจะมีโอกาสเพิ่มพูนกำไร   ส่วนแบ่งตลาดขนาดใหญ่ย่อมทำให้เกิดการประหยัดในการดำเนินงานขนาดใหญ่ขึ้นมาได้    และทำให้เกิดกำลังทางการตลาด      และช่วยเพิ่มกำลังความสามารถในการที่กิจการจะได้มีทรัพยากรสำหรับดำเนินการบริหารระดับสูง   ที่มีคุณภาพในอนาคตข้างหน้า     นอกจากนี้   การมีส่วนแบ่งตลาดมากก็จะทำให้กิจการมีโอกาสเป็นผู้นำราคาในตลาดด้วย
การใช้วัตถุประสงค์ในการกำหนดราคา    ช่วยทำให้กิจการทราบถึงความสำเร็จของกิจการได้ถูกต้องการใช้วัตถุประสงค์ที่มุ่งปริมาณรายได้สูงสุด    การใช้วัตถุประสงค์ที่มุ่งปริมาณส่วนแบ่งตลาด     จะเป็นการเปรียบเทียบระหว่างผลการดำเนินงานของกิจการกับผลการดำเนินงานของกิจการอื่น    ส่วนที่มุ่งที่ปริมาณรายได้สูงสุด  เป็นการเปรียบเทียบระหว่างรายได้กิจการปัจจุบันกับรายได้กิจการในอดีต   บางครั้งรายได้กิจการเพิ่มขึ้นแต่ส่วนแบ่งการตลาดอาจลดลงก็ได้     การเพิ่มขึ้นของรายได้มีอัตราการเพิ่มต่ำกว่าอัตราการขยายของตลาดสินค้านั้น 

ค. การกำหนดราคาเมื่อเผชิญกับการแข่งขันในการกำหนดราคาถือเป็นกลยุทธที่นุ่มนวลเป็นพิเศษมากกว่า   2  วิธีแรก    ซึ่งหลาย    แห่งนิยมใช้กัน  คือ     
การใช้วิธีเพียงให้สามารถต่อสู้กับการแข่งขันได้      โดยปกติเป้าหมายซึ่งให้สามารถต่อสู้กับคู่แข่งขันได้   และไม่จำเป็นต้องใช้ความพยายามในการวางแผนแต่อย่างใด      เรามักจะเห็นได้โดยทั่วไปว่า    บริษัทจำนวนไม่น้อยในอุตสาหกรรมต่าง     มักจะมีพฤติกรรมในการกำหนดราคาแบบง่าย      โดยกำหนดราคาตามกันไปกับผู้ที่จะเป็นผู้นำทางด้านราคา     โดยใช้นโยบายปรับตัวเองไปเรื่อย    ให้สามารถต่อสู้กับการแข่งขันได้ก็เพียงพอ        กลยุทธ์นี้มักจะใช้ได้ผลกับอุตสาหกรรมซึ่งมิได้มีการแข่งขันตัดราคากันมากนัก    แต่ถ้าเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันกันในเรื่องราคาอย่างหนัก   วิธีการตั้งราคาตามเกณฑ์จะใช้ไม่ได้ผลเช่นเดียวกัน
                 วัตถุประสงค์เรื่องราคาได้ถูกกำหนดขึ้น    จะต้องพิจารณาเรื่องอุปทาน  อุปสงค์  การแข่งขัน  กฎหมาย   ข้อจำกัดอื่น    และโอกาส    ในฐานะที่เป็นปัจจัยในการกำหนดราคา      ข้อพิจารณาแตกต่างกันอออกไปตามธรรมชาติของผลิตภัณฑ์
ขนาดของบริษัท   โครงสร้างของการแข่งขัน   กฎของรัฐ    โครงสร้างการจัดจำหน่าย   และตัวแปรอื่น      ซึ่งสามารถนำมาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการที่เรานำมาคิดราคา    เช่น    ในการตั้งราคาไม่ขึ้นกับการแข่งขันและองค์ประกอบของอุปทาน   และอุปสงค์      มักถูกควบคุมโดยข้อกำหนดของรัฐ     บริษัทจึงมีอำนาจจำกัด

กลยุทธ์ในการกำหนดราคาผลิตภัณฑ์ใหม่
                     โอกาสที่บริษัทจะกำหนดราคาผลิตภัณฑ์ใหม่ของตนโดยอิสระได้นั้นมีมากน้อยเพียงใด     ย่อมขึ้นอยู่กับความสำคัญของลักษณะทางการตลาด     ในกรณีที่ธุรกิจจะกำหนดราคาได้โดยเสรี   กลยุทธที่ใช้กำหนดราคาสำหรับสินค้าและบริการใหม่ที่เสนอเข้าสู่ตลาด   ใช้ได้   2  วิธี    คือ   กลยุทธกำหนดราคาแบบน้ำขึ้นให้รีบตัก   และกลยุทธการกำหนดราคาแบบเจาะตลาด
1.     กลยุทธการกำหนดราคาแบบนน้ำขึ้นให้รีบตักหรือเพื่อตักตวง       เป็นการกำหนดราคาซึ่งจะตั้งราคาไว้ในระดับที่สูงในช่วงเริ่มแรกที่สินค้าเข้าสู่ตลาด    และมีการดำเนินการจัดทำการส่งเสริมการขายอย่างมาก    เมื่อผลิตภัณฑ์ได้เข้าสู่วงจรแล้วธุรกิจก็จะเริ่มลดราคาให้ต่ำลงมา    โดยที่จะพยายามให้ได้ส่วนแบ่งให้ได้ส่วนแบ่งตลาดที่ใหญ่ขึ้น   การกำหนดราคาแบบนี้   การเคลื่อนไปตามเส้นโค้งของความต้องการที่ต่ำลงไป    การกำหนดราคาแบบน้ำขึ้นให้รีบตักจะใช้ได้ผลนั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไข   3   ประการ       ความต้องการของสินค้าหรือบริการนั้นจะต้องมีลักษณะที่ไม่ยืดหยุ่น  หรือไม่ขึ้นลงตามราคาที่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก,    ผลิตภัณฑ์จะต้องได้รับการปกป้องในแง่กฎหมาย   หรือเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ก้าวหน้าทางเทคนิคอย่างมากโอกาสที่สามารถกีดกั้นไม่ให้คู่แข่งขันมาแข่งขันได้,     ปริมาณผลิตไม่สามารถที่จะขยายตัวไม่อย่างรวดเร็ว   ด้วยเหตุอันสืบเนื่องมาจากทางเทคนิคทางวิทยาการ   ต้องใช้เวลาในการฝึกพนักงานช่างฝีมือต่าง    ขึ้นมา      ข้อดีของการใช้กลยุทธนี้เป็นตัวกำหนดราคาถ้าทำได้สำเร็จย่อมเป็นผลดีต่อฝ่ายจัดการเป็นอย่างยิ่ง   ช่วยให้มีโอกาสคืนทุนถอนทุนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการวิจัยผลิตภัณฑ์ต่าง      การตั้งราคาแบบน้ำขึ้นให้รีบตักจะมีอันตรายในแง่ที่จะส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันกันมากขึ้น
2.     กลยุทธการกำหนดราคาแบบเจาะตลาด     จะใช้ได้เมื่อมีการวางแผนและพยากรณ์ตลาดอย่างมีความถูกต้องสมบูรณ์พอสมควร    จะต้องใช้ความรอบคอบมากกว่ากรณีการใช้นโยบายราคาน้ำขึ้นให้รีบตัก    และจะต้องมีการวางแผนให้สมบูรณ์ก็เพราะว่าธุรกิจจำเป็นจะต้องมีการเร่งเพื่อที่จะให้มีการผลิตขนาดใหญ่  และดำเนินการด้านการตลาดมวลรวม  ถ้าผลิตภัณฑ์ไม่สามารถบรรลุถึงเป้าหมายการขายที่ต้องการแล้วธุรกิจก็จะประสพการสูญเสียอย่างใหญ่หลวง     การกำหนดราคาแบบเจาะตลาดนั้นถือว่าเป็นกลยุทธที่ใช้สำหรับระยะยาว   ธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีฐานะการเงินมั่นคง  มักจะใช้กลยุทธชนิดนี้ในการทำลายผู้ผลิตรายย่อยให้ออกไปจากตลาด  และเมื่อขาดการแข่งขันก็หันมาขึ้นราคาให้สูงได้โดยปราศจากคู่แข่งขัน

นโยบายการตั้งราคาเป็นกรณีพิเศษ   (Special  Pricing  Policy)
                   วัตถุประสงค์มักจะมีแตกต่างกันออกไป    อาจใช้เพื่อการส่งเสริมสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง    เพื่อกระตุ้นให้มีการสนับสนุนผู้บริโภคเข้ามาซื้อสินค้ามากเพิ่มขึ้น   เพื่อให้โอกาสเลือกแก่ผู้บริโภคมากขึ้นและด้วยเหตุผลอื่น    เช่น
1.     นโยบายราคาที่ต่อรองได้         ในประเทศไทยนโยบายนี้จะเป็นวิธีที่ใช้กันมากขึ้น   และให้ความสะดวกแก่ทุกฝ่าย   ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายที่ไม่ชอบต่อรองราคาสินค้า   ก็คงต้องเป็นที่ยอมรับว่า  แม้แต่ในร้านค้าหรือย่านการค้าที่ใหญ่           และอยู่ในเมือง  วัฒนธรรมหรือปะเพณีของคนไทยที่นิยมจะต้องมีการต่อรองราคากันยังคงเป็นสิ่งที่มีอยู่ให้เห็นเป็นอันมาก  เรียกว่าเป็นลักษณะนิสัยของการซื้อขายที่เป็นมาช้านานแล้ว   แต่อาจมีการยกเว้นบ้างเหมือนกัน   การกำหนดราคาเพียงราคาเดียวทำให้ผู้บริโภคมีความสะดวกใจเป็นอันมาก      ข้อดีของการกำหนดราคาเป็นหลายราคาต่างกัน  หรือนโยบายการกำหนดราคาแบบคล่องตัว   มีนโยบายที่สำคัญ  จะต้องจ่ายราคาสินค้าแตกต่างกันออกไปด้วย    เปิดช่องให้ผู้ค้าปลีกสามารถปรับการแข่งขันเพื่อสู้กับราคาของผู้ขายรายอื่นและสามารถลดราคาลงมาเพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีที่ถูกต้องต่อผู้บริโภค    การกำหนดราคาแตกต่างจะสามารถช่วยชักจูงให้มีการซื้อในปริมาณมาก    ได้   แต่ก็มีข้อเสีย  1.   ทำให้ช่วงกำไรของสินค้าแตกต่างกันออกไป  และไม่คงที่แน่นอน     2.    จะทำให้ผู้ซื้อสินค้าในราคาที่สูงกว่าเกิดทัศนคติที่ไม่ดี     3.    ทำให้พนักงานขายนิยมใช้มาตรการลดราคา  มากกว่าที่จะพยายามขาย    4.    เป็นวิธีซึ่งเชื้อเชิญให้เกิดการต่อสู้ทางราคาระหว่างผู้ขายด้วยกัน
2.     นโยบายราคาเดียว      เป็นเครื่องมือที่สำคัญใช้สำหรับส่งเสริการขาย  และเป็นเครื่องมือที่ดีกว่าการกำหนดราคาหลายราคา         กลยุทธนี้จะเสนอขายสินค้าและบริการในราคามาตรฐานเดียวกันทำให้ผู้ค้าปลีกสามารถที่จะขายในราคามาตรฐานเดียวกัน   จะสามารถขจัดปัญหาการเปรียบเทียบเรื่องราคาในกระบวนการตัดสินใจซื้อออกไปได้  ผู้บริโภคจะพิจารณาถึงความเหมาะสมและการดูถึงคุณภาพที่ดีที่สุดโดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับเรื่องราคาเลย   ในปัจจุบันต้นทุนสินค้าสูงขึ้น  นับว่าเป็นปัญหาสำคัญต่อผู้ค้าปลีกทั้งหลายที่ยึดถึงการตั้งราคาด้วยดังกล่าว  ทำให้จำต้องมีการพิจารณาเปลี่ยนแปลงราคาขายให้สูงขึ้นกว่าเดิม
3.     นโยบายการกำหนดราคาขายสินค้าทีละหลายชิ้นรวมกัน        วัตถุประสงค์เพื่อจะเพิ่มปริมาณการขายให้กับผู้ซื้อแต่ละคนนั่นเองเห็นได้ทั่วไปคือ   การขายทีละหลาย    อัน  ในบางกรณีอาจจะมีการให้ส่วนลดสำหรับผู้ซื้อมากกว่าหนึ่งรายการในครั้งเดียวก็ได้    วิธีการนี้เป็นที่นิยมใช้กันมากในบ้านเรา    การให้ส่วนลดเป็นของแถมควบคู่กันไป   โดยอาจจะไม่ลดราคาก็ได้
4.     นโยบายการกำหนดราคาเป็นสายราคาเรียกว่าเชิงระดับหรือระดับเดียวกัน          วิธีการกำหนดราคาต่อเนื่องกันเป็นลำดับสำหรับสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง   เช่น   80   90   100    ลูกค้าจะใช้ตัวเลขพิจารณาคุณภาพของสินค้า   การใช้สายราคานี้ย่อมเป็นประโยชน์ที่จะช่วยลดความสับสนให้กับพนักงานขายและลูกค้า       ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือเป็นการยากที่จะพิจารณาว่า  ราคาที่กำหนดไว้ควรจะเป็นราคาเท่าใดในสายราคา  หากราคาที่มีความใกล้ชิดจนเกินไป  ผู้บริโภคก็จะเกิดความสงสัยว่าทำไมราคาของสินค้าอีกรายการหนึ่งจึงสูงกว่าสินค้าอีกรายการหนึ่ง   หากราคาห่างกันมากผู้ขายก็จะประสบปัญหายุ่งยากที่จะต้องสูญเสียลูกค้าที่กำลังหาสินค้าซึ่งมีราคาสูง    โดยเฉพาะสินค้าสายราคาทำให้มีราคาที่แตกต่างกันมาก
5.     การกำหนดราคาในเชิงจิตวิทยา      การกำหนดราคาแบบที่ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจหรือมีผลทางด้านจิตใจ  หรือการกำหนดราคาแบบตัวเลขคี่  ในประเทศไทยมักนิยมใช้กันมากในร้านค้าปลีก   และส่วนมากได้รับความสำเร็จในนโยบายราคาสูงพอสมควร
6.     การกำหนดราคาแบบผู้นำ      การตั้งราคาสินค้าให้มีราคาสูงกว่าต้นทุนที่ทางโรงงานผู้ผลิตส่งมาเพียงเล็กน้อย  หรือเรียกว่าพยายามหากำไรให้ได้จากการขายสินค้านั้น    ต่อหน่วยให้น้อยที่สุด   แต่เพียงพอเฉพาะบางส่วนของค่าใช้จ่ายที่จำเป็นเท่านั้น   ร้านค้าปลีกนิยมใช้การกำหนดราคาในลักษณะนี้เป็นตัวช่วยดึงดูดลูกค้าเข้าร้าน   การกำหนดราคาลักษณะนี้ก็เพื่อวัตถุประสงค์ด้านการส่งเสริมการจำหน่ายเป็นสำคัญ       อีกกรณีหนึ่งการกำหนดราคาสินค้าให้ต่ำกว่าราคาต้นทุนที่ผู้ผลิตกำหนดไว้โดยทางร้านค้าปลีก  เพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้าร้านให้มากขึ้น  เป็นการแย่งลูกค้าก่อให้เกิดการกระตุ้นความสนใจให้เข้ามาซื้อสินค้าในร้านนั้น
7.     การตั้งราคาตามจำนวน        ในทางทฤษฏีการกำหรดราคาตามวิธีนี้    ก็เพื่อที่จะช่วยให้ผู้ซื้อที่มีการตระหนักถึงความประหยัดเป็นสำคัญ  ลูกค้ามุ่งหวังที่จะได้รับผลประโยชน์จากการซื้อสินค้าที่ราคาต่อหน่วยมีราคาถูกลง   โดยไม่ตระหนักถึงคุณภาพมากนัก   ซึ่งการกำหนดราคาจะถูกลงเรื่อย      ตามปริมาตรที่มีมากขึ้น

นโยบายการให้ส่วนลดและเงินช่วยเหลือ
                 ในทางการตลาดของผู้ขาย    อาจจะเป็นส่วนลดในรูปเงินสด    หรือข้อตกลงอย่างอื่นก็ได้    โดยมีรูปแบบแตกต่างกันออกไป   และมีวัตถุประสงค์แตกต่างกันออกไปด้วย   ดังนี้คือ
1.     ส่วนลดการค้า         เป็นส่วนลดที่ผู้ผลิตเสนอให้กับคนกลางระดับต่าง     ผู้ผลิตจะจัดแบ่งผู้ซื้อหรือคนกลางไปตามช่องทางจัดจำหน่าย   โดยการยึดถือเอางานหรือหน้าที่เป็นหลัก
2.     ส่วนลดตามปริมาณ       เป็นส่วนลดที่เมื่อซื้อสินค้าในปริมาณที่กำหนด  หรือครั้งละมาก     เป็นการจูงใจให้ผู้ซื้อสินค้าในครั้งละมาก     เพื่อที่จะได้ส่วนลด      ส่วนลดปริมาณแบ่งได้เป็น  2   ประเภทคือ  ส่วนลดปริมาณสะสม  และส่วนลดปริมาณแบบไม่สะสม
3.     ส่วนลดเงินสด        ส่วนลดที่ผู้ขายให้แก่ผู้ซื้อเพื่อจูงใจให้ผู้ซื้อชำระเงินค่าสินค้าภายในเวลาที่กำหนด   และหรือถ้านำเงินสดมาชำระในเวลาที่กำหนดก็อาจจะมีการเพิ่มส่วนลดให้อีกด้วย  
4.     ส่วนลดตามฤดูกาลและการลงวันที่ล่วงหน้า      ผู้ผลิตจะพยายามใช้ปัจจัยในการผลิตให้คุ้มมากที่สุด  โดยการกระจายการผลิตให้มีตลอดทั้งปีทั้งที่ยังไม่ถึงฤดูกาล    สำหรับการลงวันที่ล่วงหน้านั้น   เป็นการดัดแปลงส่วนลดตามฤดูกาลมาใช้ร่วมกับส่วนลดเงินสด   โดยมีเงื่อนไขถ้าถึงวันกำหนด  แล้วถ้าคนกลางนำเงินสดไปชำระหนี้  จะได้ส่วนลดทันทีจะเห็นว่าร้านค้าที่ซื้อสินค้าไปก่อนฤดูกาล  ไม่จำเป็นต้องชำระหนี้จนกว่าฤดูกาลขายจะเริ่ม
5.     การให้เงินช่วยเหลือเพื่อการส่งเสริมการจัดจำหน่าย       ถือว่าเป็นเครื่องมือที่ให้ผลประโยชน์ใน  2  ทางด้วยกันคือ   เครื่องมือในการกำหนดราคา   และ เครื่องมือเพื่อการส่งเสริมการจำหน่าย

ผลกระทบที่มีต่อราคา
                  ผลกระทบต่อราคาโดยตรงนั้น   อาจจะพิจารณาโดยแบ่งออกเป็น   3   กลุ่มที่สำคัญที่สุด  คือ
1.     ผลกระทบอันเนื่องมาจากลักษณะของความต้องการ        ข้อกำหนดของราคาสินค้าโดยปกติมักจะขึ้นอยู่กับข้อพิจารณาที่เกี่ยวข้องกับลักษณะของความต้องการ      หมายถึงปริมาณของผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่บริษัทจะมีการซื้อในระหว่างช่วงเวลาหนึ่ง    และจะมีการซื้อในระดับราคาที่แตกต่างกัน   ราคาจะเป็นเท่าใดย่อมขึ้นอยู่กับอุปสงค์หรือความต้องการเป็นตัวกำหนดที่สำคัญที่สุด    หลักวิเคราะห์และกฏเกณฑ์ทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับอุปสงค์ที่สัมพันธ์กันนับว่ายังคงเป็นเครื่องมือที่มีเหตุผลในตัวของมันเอง  และยังเป็นปัจจัยหลักสำหรับราคาที่จะตั้งให้สูงหรือต่ำ   โดยยึดถือหลักของความต้องการดังกล่าวเป็นตัวกำหนด
2.     ปัจจัยที่เกี่ยวกับต้นทุน       ในบางบริษัทจะให้ความสำคัญน้อยหรือไม่สนใจเกี่ยวกับอุปสงค์ของสินค้านั้นและทำการกำหนดราคาผลิตภัณฑ์โดยใช้หลักเกณฑ์ทางด้านต้นทุนเป็นสำคัญ  บางครั้งอาจทำให้มีระดับสูงเกินไปสำหรับตลาดเป้าหมาย   ซึ่งเป็นอุปสรรคทำให้ยอดขายลดต่ำลงหรือหดหายไปได้   การกำหนดราคาโดยยึดหลักต้นทุนอาจจะมีระดับที่อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าที่ควรจะได้รับ     การศึกษาถึงแนวทางความคิดเกี่ยวกับต้นทุนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์และบัญชี   เพื่อที่จะได้ปรับตั้งราคาให้ถูกต้องต่อไป   ต้นทุนมักจะเป็นฐานสำหรับการคำนวณ  2  วิธีด้วยกันคือ  โดยวิธีกำหนดราคาเพิ่มส่วนกำไรเข้าไป   และ  การยึดถือต้นทุนเป็นตัวเกณฑ์ในการหาจุดคุ้มทุน
3.     ปัจจัยอื่น          นอกจากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นทั้งสองประการแล้วยังมีปัจจัยอื่น    อีกหลายประการที่มีผลกระทบต่อราคา  ที่สำคัญคือ   ขั้นตอนของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์   สภาพการแข่งขันการกระจายของผลิตภัณฑ์   กลยุทธการส่งเสริมการขาย   และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ของสินค้าที่ปรากฏเหล่านี้   ล้วนแต่มีผลกระทบอย่างสำคัญต่อกลยุทธในการกำหนดราคาเสมอ   ซึ่งจะได้ขยายความพอประมาณดังนี้
                                     ก.      ขึ้นอยู่กับขั้นตอนวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์       ผลิตภัณฑ์ได้เคลื่อนผ่านวงจรชีวิต  สภาพของความต้องการและสภาพของการแข่งขันมักจะเปลี่ยนไปเสมอ   ลักษณะดังกล่าวราคาโดยปกติมักจะค่อนข้างสูงในช่วงระยะของการนำเข้าสู่ตลาด     ทั้งนี้ก็เพราะความต้องการที่เกิดขึ้นในศูนย์กลางของตลาด   และเพื่อความคาดหมายของฝ่ายจัดการที่จะให้คุ้มกับต้นทุนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ราคาจึงสูงในช่วงดังกล่าว      ราคามักจะเริ่มทรงตัวในขณะที่ผลิตภัณฑ์เคลื่อนเข้าสู่การเจริญเติบโต   และคู่แข่งก็จะเริ่มทำให้สิ่งที่ตอบสนองตลาดหรือสินค้ามีมากขึ้นกว่าเดิม     ในที่สุดจาการผลิตขนาดใหญ่  ได้มีส่วนช่วยให้สามารถประหยัดต้นทุนให้ต่ำลงได้   จึงเป็นผลทำให้สามารถขยายประโยชน์ไปสู่ผู้บริโภค   โดยดำเนินการในรูปแบบที่มีการลดราคาต่ำลงไปอีก    โดยปกติในขั้นตอนนี้   ราคาก็จะลดลงพร้อมกับที่มีการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น   และบริษัทที่มีต้นทุนสูงก็จะถูกขับออกจากตลาดไปเอง
                                    ข.        ปัจจัยในด้านการแข่งขัน       เป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนจะมากน้อยแตกต่างกันไปภายในวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์    มักจะมีอิทธิพลกระทบอย่างมากต่อการตัดสินใจในด้านราคา  ในบางกรณีธุรกิจอาจจะไม่ได้เผชิญกับการแข่งขันในรูปแบบใด ๆ มากนัก   ราคาที่อยู่ในระดับสูงก็จะมีผลทำให้เป็นเครื่องชี้ชวนให้หน่วยงานอื่นเข้าสู่การตลาดได้เช่นกัน    วิธีที่ดีที่สุดที่จะแย่งส่วนแบ่งตลาดได้อย่างรวดเร็วก็คือ   วิธีการลดหรือแข่งขันด้านราคา
                                    ค.        กลยุทธที่เกี่ยวกับการจำแนกแจกจ่าย       ถ้าหากว่าระบบนี้มีอย่างพอเพียงสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่แล้ว     มักจะช่วยให้สามารถมีโอกาสได้รับกำไรมากกว่าในกรณีปกติได้       ข้อแตกต่างของกลยุทธนี้ต่อกลยุทธอื่นก็คือ  ด้วยความพร้อมและพอเพียงของระบบการจำแนกแจกจ่าย  ย่อมเป็นข้อได้เปรียบที่ทำให้ขอบข่ายหรือจำนวนของโอกาสที่ส่งเสริมนั้นรออยู่และขนาดใหญ่เพียงพอ   นับว่าเป็นเครื่องช่วยโดยตรงต่อต้นทุนการส่งเสริมการจำหน่าย   ทำให้การใช้จ่ายได้ผลและคุ้มค่ามากกว่า   และยังสามารถกระตุ้นให้เกิดความต้องการเพิ่มขึ้นในระดับของการค้าปลีกอีกด้วย    ขอบข่ายของการจัดจำหน่ายจะเอื้ออำนวยให้สามารถเอาชนะปัญหาปลีกย่อยทางด้านส่วนผสมทางตลาด   บางครั้งราคาอาจจะค่อนข้างสูงในความรู้สึกของผู้บริโภค  แต่ถ้าหากสินค้าได้มีโอกาสเสนอขายตัวเองไปยังร้านค้าปลีกที่อยู่ใกล้ และสามารถซื้อได้ง่ายและสะดวก   ราคาที่สูงกว่าก็จะไม่เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด
                                    ง.         กลยุทธการส่งเสริมการจำหน่าย      ราคาเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการจำหน่ายอยู่เสมอ    เพื่อที่จะเพิ่มความสนใจให้แก่ผู้บริโภคมากขึ้น   หากท่านได้ดูโฆษณาทางหนังสือพิมพ์  มักจะมีการเสนอรายการลดราคาเกี่ยวกับสินค้าหรือผู้ผลิตสินค้าในทางอุตสาหกรรมก็อาจจะมีการสอดแทรกใบส่วนลดต่าง    หรือนำคูปองส่วนลดไปแจกถึงตัวผู้บริโภค   ให้ผู้บริโภคสนใจและซื้อสินค้าในตราของตนเอง        โดยปกติผู้ผลิตสินค้ามักจะใช้วิธีส่งเสริมด้วยการเสนอราคาแนะนำสินค้าในราคาค่อนข้างถูก  ก็เพื่อจะเป็นเครื่องช่วยให้ผลิตภัณฑ์ผ่านเข้าไปแนะนำตัวเองเพื่อที่จะไม่ให้ผู้ซื้อหันเหไปหาคู่แข่งขัน  และก็มักจะมีทางเลือกอีกทางหนึ่งคือ   การออกสินค้าในตราที่ใช้สำหรับการต่อสู้กับคู่แข่งขัน  โดยเสนอขายในราคาที่ต่ำมาก    เพื่อที่จะเสนอขายให้ผู้ที่มีรายได้น้อยนั่นเอง
                           จ.       คุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่มองเห็น      สินค้าที่แข่งขันกันมักจะถูกมองว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพต่ำ   โดยเฉพาะเมื่อขาดข้อมูลจากผลิตภัณฑ์  และด้วยเหตุดังกล่าว   ผู้บริโภคส่วนมากจึงมักกลับไปแก้ไขปัญหาของตนด้วย   การเชื่อว่าสินค้าที่สูงกว่านั้นเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงคุณภาพที่ดีกว่า    ในเรื่องที่ผู้บริโภคจะอิงอยู่กับราคานั้นเป็นความจริงที่เกิดขึ้นแทบทุกผลิตภัณฑ์เพียงแต่เป็นเรื่องที่มีมากเป็นพิเศษในสินค้าบางยี่ห้อเท่านั้น   การที่ราคาสูงกว่านั้นสาเหตุเป็นเพราะผลิตภัณฑ์นั้นน่าจะมีอะไรที่ดีกว่า   เช่น  วัตถุดิบที่มีคุณภาพสูงกว่า หรือมีความประณีตในการผลิตมากกว่า   และคำพูดติดปากที่เคยได้ยินคือ   “คุณจะได้ในสิ่งที่คุ้มกว่าเงินที่คุณจ่าย”     โดยสรุปในการตั้งราคาในเชิงปฏิบัติ   ผู้ขายจะต้องพิจารณาถึงตัวแปรที่สำคัญ     1.     ความต้องการของลูกค้า    2.     ราคาของคู่แข่งขัน      3.     ต้นทุน
          -       ความต้องการของลูกค้า       ในทางปฏิบัติถ้าพิจารณาจากความต้องการของลูกค้าเป็นเกณฑ์   ลูกค้ามีความต้องการมากและอยู่ในฐานะที่จะจ่ายได้   ผู้ขายสามารถกำหนดราคาจำหน่ายให้สูงกว่าปกติได้     ในทางจิตวิทยาการซื้อขาย   การตั้งราคาที่สูงเกินไปหรือต่ำเกินไปกว่าราคาที่ผู้ซื้อคาดหมายไว้อาจมีผลในทางลบต่อการจำหน่ายสินค้าหรือบริการนั้น
          -        ราคาของคู่แข่งขัน         ผู้ขายมีทางเลือกที่จะกำหนดราคาจำหน่ายสินค้าหรือบริการของตนได้ด้วยกัน  3  ทางคือ    เจ้าของสินค้าหรือบริการมีความเชื่อมั่นว่าคุณภาพของสินค้าหรือบริการดีกว่าเหนือกว่าคู่แข่งขัน และต้องการใช้  “ราคา”  เป็นตัวบ่งชี้  “คุณภาพ”       ในบางสถานการณ์ผู้ขายอาจประสบความสำเร็จในการขายได้โดยกำหนดราคาจำหน่ายไว้ต่ำกว่าราคาของคู่แข่ง  เท่ากับเป็นการยอมรับว่าสินค้าหรือบริการของตนอาจด้อยในเรื่องคุณภาพกว่าคู่แข่งขัน  แต่ในตลาดมีความต้องการสูงพอที่จะชดเชยกับจุดอ่อนนี้ได้    และถ้าเป็นสินค้าหรือบริการที่ผู้ซื้อมองเห็นความแตกต่างในคุณภาพได้ยาก   ผู้ขายสมควรที่จะกำหนดราคาจำหน่ายในระดับเดียวกันกับของคู่แข่งขัน
           -      ต้นทุน        ถ้าพิจารณาจากต้นทุนเป็นหลักวิธีที่มักจะนิยมใช้กันก็คือวิธีการบวกกำไรตามที่ต้องการเข้ากับราคาต้นทุนที่ซื้อมาหรือการผลิตบวกกับค่าใช้จ่ายต่าง     ที่เกี่ยวข้อง   แต่กำไรที่ได้เพียงอย่างเดียวอาจเป็นเครื่องบ่งชี้ที่ไม่พอเพียง  บางกิจการจึงนำเอา  “กำไร”  ไม่สัมพันธ์กับ  “เงินลงทุน”    ในการกำหนดราคาจำหน่ายของตน    เป็นการกำหนดราคาโดยยึดผลตอบแทนจากการลงทุนเป็นเกณฑ์   เพื่อคำนวณออกมาเป็นกำไรที่ต้องการก่อนที่นำไปบวกกับต้นทุนและค่าใช้จ่ายเพื่อกำหนดราคาขาย

ต้นทุนที่จะใช้เป็นตัวกำหนดราคาจำหน่าย    อาจคำนวณได้ในลักษณะต่าง      กันดังนี้
1.     การคิดต้นทุนที่    (Fix  Cost)       ในระยะยาวธุรกิจจะมีกำไรเพิ่มขึ้น   เพื่อความอยู่รอดและขยายตัว  ตามทฤษฏีแล้วยอดขายที่ทำได้จะต้องครอบคลุมต้นทุนทุกรายการที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจ     ต้นทุนที่ใช้ในการกำหนดราคาจึงสมควรจะรวมต้นทุนทุกรายการทุกจำนวนที่เกิดจากการผลิตและการขายสินค้าหรือบริการนั้น       เช่น     ค่าเสื่อมราคา   ค่าเช่า    ค่าดอกเบี้ย    ค่าบริหารงานทั่วไป   ค่าประกันภัย   ค่ายามรักษาความปลอดภัย
2.     การคิดเฉพาะต้นทุนแปรผัน    (Variable   Cost)      ในสภาวะที่สินค้าหรือบริการที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาดในขณะนี้เป็นตลาดของผู้ซื้อและผู้ผลิตใช้กำลังการผลิตที่ตนมีอยู่อย่างไม่เต็มที่    การตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาในการกำหนดราคาอาจจะถูกต้องและเหมาะสมสำหรับระยะเวลานั้น    โดยยึดจากตัวเลขต้นทุนการผลิตและการขายเฉพาะส่วนแปรผันเท่านั้น   เช่น   ค่าวัตถุดิบทางตรง   ค่าแรงงานทางตรง  ค่านายหน้า
3.     การคิดเฉพาะต้นทุนส่วนเพิ่ม   (Marginal  cost)        เกิดจากการผลิตสินค้าหรือบริการเพิ่มขึ้นจากระดับเดิม    วิธีนี้คล้ายกับวิธีที่  2    แต่ค่อนมาทางแนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์   ในแง่ที่ว่าเป็นเจ้าของสินค้าหรือบริการสามารถกำหนดราคาจำหน่ายสินค้าหรือบริการที่ผลิตเพิ่มเติมจากเดิมได้สูงกว่าต้นทุนที่ต้องจ่ายเพิ่มเพื่อการผลิตและจำหน่ายสินค้าหรือบริการที่เพิ่มนั้น   ก็สมควรจะทำเพราะจะทำให้กำไรที่ได้รับในยอดรวมสูงขึ้น